วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

แนวการจัดกิจกรรม

2.อยากฟังนิทาน น้องวานพี่เล่า
แนวคิด
กิจกรรมอยากฟังนิทาน น้องวานพี่เล่า เป็นกิจกรรมการเล่านิทานปากเปล่าโดยใช้น้ำเสียง และแสดงกิริยาท่าทางประกอบ เป็นการเล่าที่ผู้เล่าจะต้องมีความสามารถในการทำเสียงต่างๆได้ เช่นสามารถเลียนเสียงร้องของสัตว์ หรือตัวละครในเรื่องได้ เลียนเสียงปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่นเสียงลม เสียงน้ำตก เสียงฟ้าร้อง ฯลฯ หรือเสียงของคนหรือสัตว์ที่ปรากฏในเรื่องได้ โดยมีขั้นตอนในการเล่าดังนี้
ลักษณะของกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่มตามความสนใจ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนสนุกสนานในการฟัง ให้นักเรียนมีทักษะในด้านการฟัง ฟังแล้วตอบคำถามได้
2.เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน
3.เพื่อให้นักเรียนนำแนวคิดที่ได้จากนิทานไปปฏิบัติตนในทางที่ดี
วัสดุ/อุปกรณ์
1.นิทานที่ครูบรรณารักษ์คัดเลือกไว้ประมาณ 1 – 2 เรื่อง
2.แบบสังเกตพฤติกรรมในการฟัง
3.แบบประเมินผลการตอบคำถามจากการฟัง
ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.ขั้นเตรียมการ
1.1 เลือกเรื่องที่มีคุณค่า สนุกสนานมีคติเตือนใจ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
1.2 เตรียมตัวผู้เล่า ใช้ผู้เล่า 1 คน หรือเป็นกลุ่ม
1.3 ผู้เล่าอ่านเรื่องทั้งหมดให้เข้าใจและจำเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ให้ได้
1.4 ฝึกซ้อมการเล่าเรื่อง เน้นน้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง ในการเล่า ให้สอดคล้องกับเรื่อง และฝึกเล่าจนเป็นที่พอใจ
1.6 จัดหาสถานที่ที่ใช้ในการเล่า เตรียมฉาก เวที ให้เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่อง
2.เล่าสู่ผู้ฟัง
2.1 ดำเนินการเล่าตามขั้นตอนที่ฝึกซ้อม เน้นการเปิดเรื่อง การเล่าตามลำดับเหตุการณ์ น้ำเสียงที่ใช้ และการสรุปเรื่อง
2.2 ผู้เล่าแสดงสีหน้า ท่าทางประกอบการเล่า น้ำเสียงสูงต่ำชัดเจน ทำเสียงให้เร้าใจ
ใส่อารมณ์ดีใจ โศกเศร้า หวาดกลัว ตื่นเต้น เลียนเสียงธรรมชาติ หรือทำเสียงพูดของคนหรือสัตว์ที่ปรากฏในเรื่อง
3.รวมพลังตอบคำถาม
3.1 ผู้เล่าควรเปิดโอกาส ให้นักเรียนมีส่วนในการแสดงความคิดเห็น ให้เติมหรือตอบคำถามขณะเล่า
3.2 ให้นักเรียนเล่าตามไปด้วยในขณะที่เล่า โดยเฉพาะข้อความที่เล่าซ้ำๆกัน
3.3 ผู้เล่าใช้คำถามนำเพื่อให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
4. ตรวจสอบประเมินผล
4.1 สังเกตความสนใจในการร่วมกิจกรรมของนักเรียน
4.2 แจกใบงานให้นักเรียนตอบคำถาม
4.3 ตรวจผลงาน
ข้อเสนอแนะ
การเล่านิทานปากเปล่านี้ ถ้าต้องการให้นักเรียนได้อรรถรสในการฟัง ไม่ควรมีอุปกรณ์สื่อ
ประกอบการเล่าที่เบี่ยงเบนความสนใจในการฟังมากนัก ยกเว้นแต่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่กำลังพูดเท่านั้น

ตัวอย่างนิทาน เรื่องหญิงชรากับหมูน้อย( ดัดแปลงจากเรื่อง The Old Woman and Her pig )
1. ขั้นเตรียมการ
เตรียมเรื่องที่เล่า ซักซ้อมบท ลำดับขั้นตอนให้เข้าใจ

หญิงชราซื้อลูกหมูจากตลาด ระหว่างทางเข้าหมู่บ้าน หมูน้อยไม่ยอมปีนรั้วเตี้ยๆ เข้าบ้าน
หญิงชราจึงไปหาสุนัข ให้ไปกัดหมู สุนัขบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาไม้เรียว ให้ไปหวดสุนัข เพราะสุนัขไม่กัดหมู ไม้เรียวบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาไฟ ให้ไปช่วยเผาไม้เรียว เพราะไม้เรียวไม่ไปหวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู ไฟบอกว่าไมใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาน้ำ ให้ช่วยดับไฟ เพราะไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู น้ำบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาวัว ให้ไปกินน้ำ เพราะน้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู วัวบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาคนขายเนื้อ ให้ไปฆ่าวัว เพราะวัวไม่กินน้ำ น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู คนขายเนื้อบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาเชือก ให้ไปรัดคอคนขายเนื้อ เพราะคนขายเนื้อไม่ฆ่าวัว วัวไม่กินน้ำ
น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู เชือกบอกว่าธุระไม่ใช่
หญิงชราจึงไปหาหนู ให้ไปกัดเชือก เพราะเชือกไม่รัดคอคนขายเนื้อ คนขายเนื้อไม่ฆ่าวัว
วัวไม่กินน้ำ น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข สุนัขไม่กัดหมู
หนูบอกว่าไม่ใช่ธุระ
หญิงชราจึงไปหาแมว ให้ช่วยกัดหนู เพราะหนูไม่กัดเชือก เชือกไม่รัดคอคนขายเนื้อ คนขายเนื้อไม่ฆ่าวัว วัวไม่กินน้ำ น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผาไม้เรียว ไม้เรียวไม่หวดสุนัข
สุนัขไม่กัดหมู แมวบอกว่าหิว ขอให้ไปรีดนมวัวมาให้
หญิงชราจึงไปหาวัว วัวบอกว่าขอกินหญ้า แล้วจึงจะให้นมวัว หญิงชราจึงไปขอหญ้าให้วัว
วัวให้นม หญิงชราเอานมไปให้แมว แมวจึงกัดหนุ หนูจึงไปกัดเชือก เชือกจึงไปรัดคอคนขายเนื้อ
คนขายเนื้อจึงไปฆ่าวัว วัวจึงไปกินน้ำ น้ำจึงรีบไปดับไฟ ไฟจึงรีบไปเผาไม้เรียว ไม้เรียวจึงรีบไปหวดสุนัข สุนัขจึงรีบไปกัดหมู หมูจึงรีบกระโดดข้ามรั้วเข้าบ้าน หญิงชราจึงกลับถึงบ้านก่อนค่ำ
(สมทรง แสงแก้ว. เทคนิคการเล่านิทานแบบต่างๆ, อ้างในกรมวิชาการ กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. 2543:152 –153)
2. เล่าขานสู่ผู้ฟัง
ดำเนินการเล่า โดยเน้นเสียง ท่าทาง ใส่อารมณ์ตามบทของนิทาน
3.รวมพลังตอบคำถาม
หมายถึงให้นักเรียนที่ฟังมีส่วนร่วมในการเล่านิทาน เช่น ให้นักเรียนที่ฟังเล่าตามผู้เล่า โดยเฉพาะข้อความซ้ำ เด็กจะเล่าด้วยความสนุก และมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้วยเช่น
...หญิงชราจึงไปหาหนู ให้ไปกัด.....เพราะเชือกไม่รัดคอคน...... คนขายเนื้อไม่......
วัวไม่กิน..... น้ำไม่ช่วยดับไฟ ไฟไม่เผา..... ไม้เรียวไม่หวดสุนัข ............หนูบอกว่าไม่ใช่ธุระ
4. ตรวจสอบประเมินผล
หลังจากผู้เล่า เล่านิทานจบลงแล้ว ลองประเมินผลการฟังนิทานจากนักเรียน โดยให้ผู้ฟังทำกิจกรรมดังนี้
1.เว้นข้อความให้นักเรียนเติมคำตอบ เช่น
1.1 อะไรไม่เผาไม้เรียว..........................
1.2 ใครไม่กินน้ำ......................................
1.3 อะไรไม่ไปรัดคอคนขายเนื้อ.....................................
1.4 ใครไม่กัดเชือก
2.ให้นักเรียนตอบคำถามจากการฟังนิทานจบแล้ว
2.1 ในเรื่องนี้มีสัตว์ทั้งหมดกี่ชนิด
2.2 คำว่าไม่ใช่ธุระ หมายความว่าอย่างไร
2.3 สัตว์ชนิดใดที่ช่วยให้หญิงชรากลับถึงบ้านก่อนค่ำ
2.4 ทำไมหมูน้อยไม่ยอมเข้าบ้าน
2.5 นักเรียนคิดว่าการกระทำของหมูน้อยเป็นอย่างไร
3.ให้นักเรียนเรียงลำดับการเดินทางของหญิงชราในการขอความช่วยเหลือพาหมูน้อยเข้าบ้าน
น้ำ วัว ไฟ แมว สุนัข ไม้เรียว คนขายเนื้อ เชือก หญ้า หนู

ตอบ หญิงชรา ........ .......... .......... .......... ............

เครื่องมือวัดผลและประเมินผล
แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม
1. การร่วมกิจกรรม2. มีส่วนร่วมในกิจกรม3. กล้าแสดงความคิดเห็น 4. มีความสนุกสนาน5. มีมารยาทในการฟัง
การปฏิบัติตนในการเข้าร่วมกิจกรรม
ควรปรับปรุง พอใช้ ดี 0 1 2

ลงชื่อ.....................บรรณารักษ์ ลงชื่อ........................ผู้บริหาร